ค้นหาชีววิทยา

คลังบทความ

ข้อเสนอแนะ

-ในการทดลองหาค่าดัชนีประสิทธิภาพของบทเรียนการ์ตูนควรควบคุมเวลา การเลือกสถานที่ในการอ่าน สถานการณ์ที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ ดังนั้นการศึกษาในครั้งต่อไปควรควบคุมเวลา สถานที่ที่กลุ่มเป้าหมายใช้ในการศึกษาบทเรียนอย่างเหมาะสม เช่น การจัดสถานที่/สภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่วนสถานการณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนหรือสืบเสาะค้นคว้าในหนังสือการ์ตูนควรเป็นช่วงเวลาที่สบายต่อร่างกาย รู้สึกผ่อนคลาย และไม่มีความรีบร้อน และห่างจากเสียงรบกวนสมาธิในการอ่าน -การผลิตบทเรียนการ์ตูนควรใช้สำนวนที่เข้าใจง่ายไม่เป็นวิชาการมากนัก ควรนำเอาสิ่งใกล้ตัวผู้เรียนมานำเสนอเป็นตัวอย่างประกอบในบทเรียนการ์ตูน เพื่อผู้เรียนจะได้เห็นภาพและเข้าใจง่ายขึ้น -การผลิตบทเรียนการ์ตูนต้องคำนึงวัยของผู้เรียว่าอยู่ในวัยใด มีความต้องการสิ่งใด แล้วนำมาประยุกต์เป็นส่วนประกอบในบทเรียนการ์ตูน เช่น น่าจะนำเอาตัวการ์ตูนแบบญี่ปุ่นเข้ามาเป็นตัวละครในบทเรียนการ์ตูน เพราะว่าผู้เรียนที่ผู้วิจัยทำการศึกษาอยู่ในช่วงวัยที่ชอบค้นหาตัวเอง และชอบอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว -การให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการผลิตการ์ตูนน่าจะส่งผลต่อความสนใจมากขึ้น เช่น การให้ระบายสีในเนื้อเรื่องการ์ตูนตามชอบ น่าจะทำให้ผูเรียนซึมซับความรู้ความเข้าใจมากขึ้น -ในบางกรณีอาจส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการต่อยอดของความรู้ด้วยการสืบค้นข้อมูลต่อเนื่อง เป็นต้นว่าการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของสัตว์ที่ศึกษาแล้วนำเสนอต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียน อันเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพด้านการอ่านและการสืบค้นข้อมูลได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

แผนการสอนชีววิทยา

แผนการสอนชีววิทยา

สมัครสมาชิก