การทดลองหาประสิทธิภาพของหนังสือการ์ตูน
การทดสอบหาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนการ์ตูนแต่ละเล่มดำเนินกาตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Testing) โดยการนำหนังสือการ์ตูนไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 3 คน ด้วยการให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนของแบบทดสอบเรื่องการเจริญเติบโตของกบ แบบทดสอบเรื่องการเจริญเติบโตของไก่ และแบบทดสอบเรื่องการเจริญเติบโตของแมลง จำนวนชุดละ 10 ข้อ 10 คะแนน ใช้เวลา 10 นาที (ตามแผนการสอน) หลังจากนั้นให้อ่านหนังสือการ์ตูนตามความเหมาะสม เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการอ่านและรับรู้ความหมายในส่วนของสาระจากหนังสือการ์ตูนที่ไม่เท่ากัน ผู้ทำการศึกษาได้สังเกตพฤติกรรมการอ่าน การใช้เวลาในการอ่านที่เหมาะสมของกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการปล่อยให้อ่านอย่างอิสระและหยุดอ่านทันทีที่ตอนเองคิดว่ามีความเข้าใจมากพอแล้วแล้วทำแบบทดสอบหลังเรียนทันที ซึ่งแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนคือข้อสอบชุดเดียวกัน แล้วสอบถามกลุ่มเป้าหมายว่าหนังสือการ์ตูนมีความเหมาะสมแล้วหรือยัง ในแง่ของภาพ การดำเนินเรื่องตรงที่ไม่เข้าใจ แล้วนำค่าคะแนนของนักเรียนมาหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และนำค่าเฉลี่ยที่ได้จากการอ่านการ์ตูนของนักเรียนมาเป็นเกณฑ์
2. การทดลองแบบกลุ่มเล็ก (small group testing) นำหนังสือการ์ตูนที่ปรับปรุงแล้วมาทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย 9 คน ด้วยการให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนจำนวน 10 ข้อ 10 คะแนน ใช้เวลา 10 นาทีหลังจากนั้นให้อ่านหนังสือการ์ตูนภายในเวลาที่กำหนด คือ 1 วัน แล้วทำแบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนคือข้อสอบชุดเดียวกัน แล้วสอบถามกลุ่มเป้าหมายว่าหนังสือการ์ตูนมีความเหมาะสมแล้วหรือยัง ในแง่ของภาพ การดำเนินเรื่องตรงที่ไม่เข้าใจ แล้วนำค่าคะแนนของนักเรียนมาหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และนำค่าเฉลี่ยที่ได้จากการอ่านการ์ตูนของนักเรียนมาเป็นเกณฑ์
3. การทดลองแบบกลุ่มใหญ่ (field testing) นำหนังสือการ์ตูนที่ปรับปรุงแล้วมาทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายประมาณ 30 คน ด้วยการให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนจำนวน 10 ข้อ 10 คะแนน ใช้เวลา 10 นาที หลังจากนั้นให้อ่านหนังสือการ์ตูนภายในเวลาที่กำหนด คือ 1 วัน แล้วทำแบบทดสอบหลังเรียนทันที ซึ่งแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนคือข้อสอบชุดเดียวกัน แล้วนำค่าคะแนนของนักเรียนมาหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และนำค่าเฉลี่ยที่ได้จากการอ่านการ์ตูนของนักเรียนมาเป็นเกณฑ์
Category:
ชีววิทยา,
บทเรียนการ์ตูน,
วิธีการดำเนินการวิจัย
0
ความคิดเห็น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น